Binary Master Mind BMM
จุดเด่นของช่อง
- การหาจังหวะการเข้าเทรด : การหาจังหวะการเข้าเทรดนั้นเป็นสิ่งที่สำคัญเป็นอย่างมาก เพราะการที่จะเริ่มเทรดได้อย่างมั่นคงได้นั้น จะต้องอาศัยการเข้าเทรดที่แม่นยำมากขึ้น และสามารถบอกเหตุผลการเข้าเทรดในแต่ละครั้ง การที่จะสามารถมองหาจังหวะการเข้าเทรดที่แม่นยำมากยิ่งขึ้น จะต้องอาศัยความรู้ความเข้าใจและประสบการณ์ ช่องนี้จะสอนการหาจังหวะการเข้าเทรดให้แม่นยำมากขึ้น และเงื่อนไขต่างๆ ที่จะสามารถทำให้การหาจังหวะการเข้าเทรดมีความแม่นยำมากยิ่งขึ้น
- การใช้เลือกใช้ Indicator : การเลือกใช้ Indicator ที่ไม่ได้มีความซับซ้อนมากหากเทรดเดอร์เข้าใจในเงื่อนไขต่างๆของ Indicator ตัวนั้นๆ หากเทรดเดอร์สามารถเข้าใจในตัวของ Indicator อย่างถ่องแท้และมีประสบการณ์การอ่านกราฟ เพื่อที่จะสามารถคัดกราฟที่น่าสนใจได้ การที่สามารถคัดกราฟที่มีความน่าจะเป็นที่จะสามารถเข้าเทรดได้ จะทำให้เทรดเดอร์มีข้อได้เปรียบที่จะสามารถทำกำไรได้มากขึ้นและทำให้ระบบการเทรดมีความมั่นคงมากขึ้น
- เทคนิคการอ่านแท่งเทียนที่แม่นยำ : มีคลิปสอนเกี่ยวกับการเข้าเทรดอย่างไรให้แม่นยำมากยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการอ่านแท่งเทียน หรืออาจจะเป็นการดูกราฟที่น่าสนใจและสามารถเข้าเทรดได้หรืออาจจะเป็นการคัดกราฟจาก Indicator ช่องนี้เน้นไปทางการเข้า Order หลังจากมีการปิดแท่งเทียน
ข้อควรระวัง
- อาศัยประสบการณ์และความเข้าใจ : เทรดเดอร์ที่ต้องการหาจังหวะการเข้าเทรดที่แม่นยำ จำเป็นที่จะต้องใช้ความเข้าใจและประสบการณ์ที่มากพอ หากมีความรู้ความเข้าใจที่ไม่มากพอ จะส่งผลทำให้ไม่สามารถใช้ indicator ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
เหมาะกับใคร?
- เหมาะกับเทรดเดอร์สายรอหาจังหวะการเข้าเทรด ซึ่งอาจใช้เวลาค่อนข้างมากในการรอจังหวะในแต่ละครั้ง
- เหมาะกับเทรดเดอร์ที่ต้องการความเรียบง่ายในการดู Indicator เพราะไม่ค่อยมีความยุ่งยากในการทำความเข้าใจตัว Indicator ไม่ได้มีความยุ่งยากและง่ายในการสังเกต
- เหมาะกับเทรดเดอร์ที่ต้องการปูพื้นฐานในการเทรด เพราะการเริ่มเข้าเทรดจากการใช้ Indicator Moving Average นั้นถือว่าเป็นสิ่งที่เทรดเดอร์ทุกๆคนควรเข้าใจและเรียนรู้
Indicator ที่ใช้
ชื่อ Indicator |
จุดเด่น |
EMA (50) |
ใช้วิเคราะห์แนวโน้มภาพรวมของกราฟ |
SMA (10) |
|
SMA (5) |
ความสำคัญของเส้น EMA และ SMA
- SMA : ใช้ได้สะดวกในการบอกถึงแนวโน้มราคาในระยะยาว เนื่องจากมีการคำนวณที่เรียบง่ายและไม่มีการเปลี่ยนแปลงต่อค่าที่ได้ในช่วงเวลาที่กำหนด
- EMA : มักถูกนำมาใช้ในการบอกถึงแนวโน้มราคาในระยะสั้น EMA มีการตอบสนองต่อข้อมูลล่าสุดได้รวดเร็วกว่า SMA นั่นเอง
ตัวอย่างเงื่อนไขการเข้าเทรด
เงื่อนไขการเทรด (Call)
- เริ่มแรกที่เทรดเดอร์จำเป็นที่จะต้องดูคือ Pattern ของกราฟก่อนหน้าว่ากราฟกำลังเป็นเทรนด์ขาขึ้นหรือขาลงเพื่อที่จะสามารถวิเคราะห์กราฟได้ว่าจุดไหนที่สามารถเข้าเทรดได้
- เริ่มใช้ Indicator เข้ามามีส่วนร่วมในกรณีนี้คือการใช้ SMA (5), SMA (10) และ EMA (50)
- จากกราฟสังเกตได้ว่ากราฟมีการกลับตัวลงมาชนเส้น SMA (10) และเด้งกลับขึ้นมาเป็นเทรดขาขึ้นต่อมีการเกิด Pattern แบบนี้หลายรอบกับกราฟก่อนหน้า ทำให้สามารถวิเคราะห์ได้ว่าเมื่อกราฟมีการย่อตัวลงมาที่เส้น SMA (10) จะมีแนวโน้มว่ากราฟจะเด้งกลับตัวขึ้นมา สามารถเข้าเทรดในจุดนี้ได้
- ข้อควรระวังนั่นก็คือ การที่จะหวังพึ่งแค่การรอจังหวะการเข้าเทรดโดยการสังเกตการชนของเส้น SMA ต่างๆอาจทำให้เกิดการขาดทุนได้ เพราะการเทรดนั้นจำเป็นที่จะต้องดูปัจจัยอื่นๆอีกด้วยยกตัวอย่างเช่นลักษณะของแท่งเทียนต่างๆ ที่สามารถบอกได้ว่าลักษณะของกราฟกำลังจะเป็นไปในทิศทางไหน
เงื่อนไขการเข้าเทรด (Put)
- เริ่มแรกที่เทรดเดอร์จำเป็นที่จะต้องดูคือ Pattern ของกราฟก่อนหน้าว่ากราฟกำลังเป็นเทรนด์ขาขึ้นหรือขาลงเพื่อที่จะสามาถวิเคราะห์กราฟได้ว่าจุดไหนที่สามารถเข้าเทรดได้
- จะเห็นได้ว่ากราฟก่อนหน้านั้นกำลังเป็นเทรนด์ขาขึ้นมีการชนเส้น EMA (50) แล้วมีลักษณะเด้งกลับตัวขึ้นมา
- เมื่อเส้น SMA (5) และเส้น SMA (10) มีการตัดกันลงมาจะเป็นสัญญาณว่ากราฟกำลังจะมีการตัดตัวกันลงมา
- สังเกตลักษณะของแท่งเทียนหลังจากมีการตัดกันของเส้น SMA (5) และ SMA (10) ว่าลักษณะแท่งเทียนเป็นยังไง จากกราฟจะเห็นได้ว่าลักษณะแท่งเทียนมีการปิดตัวโดยมีแรงขายที่มากและกราฟสามารถลงต่อไปได้
Trade With King
จุดเด่นของช่อง
- สามารถเทรดได้หลายรูปแบบ : สามารถเทรดได้ทุกสภาวะของกราฟ ไม่ว่าจะเป็นกราฟขาขึ้นหรือขาลง ไม่ว่าจะเป็นเทรนด์ไหนๆ ก็สามารถทำกำไรได้โดยสามารถแบ่งรูปแบบการเทรดหลักๆได้ 2 รูปแบบเด่นๆคือ การรอจังหวะการกลับตัวของกราฟ กับ การเทรดตามเทรนด์
- การรอจังหวะการกลับตัวของกราฟ : คือการที่รอการเข้าเทรดในจังหวะที่กราฟมีแนวโน้มว่าจะมีการกลับตัว โดยสามารถสังเกตได้จากหลายปัจจัยยกตัวอย่างเช่น การหาจุดตัดกันของเส้น Stochastic ที่จุด Overbought หรือ Oversold ก็จะสามารถเป็นจุดสังเกตได้ว่ากราฟกำลังจะมีการกลับตัว และเป็นจุดที่สามารถทำกำไรได้
- การเทรดตามเทรนด์ : คือการเทรดไปในทิศทางเดียวกันกับกราเมื่อสังเกตได้ว่า กราฟก่อนหน้านั้นมีทิศทางเดียวกัน การเข้าเทรดตามเทรนด์ก็เป็นอีกตัวเลือกที่น่าสนใจ ในการที่จะหาจังหวะการเข้าเทรดที่แม่นยำ จำเป็นที่จะต้องการรอจังหวะของกราฟให้ดีเสียก่อนยกตัวอย่างเช่นเมื่อกราฟกำลังเป็นเทรนด์ขาขึ้น และต้องการที่จะเทรดตามเทรนด์ ทำการรอให้กราฟมีการลดตัวลงมาในระดับนึงหรือเรียกว่าการ ย่อ buy นั่นเอง การที่ทำเช่นนี้จะช่วยให้ลดอัตราการขาดทุนพอสมควร เป็นเพราะว่าการเทรด Binary Option นั้นความสำคัญหลักๆคือการวิเคราะห์หาจุดเข้าเทรด การที่มีจุดเข้าเทรดที่ดีและแม่นยำย่อมมีชัยไปกว่าครึ่ง
- การรอสัญญาณการเข้าเทรดจาก Indicator : Fractal สามารถใช้สำหรับเป็นแนวทางในการดูก่อนการเข้าเทรด การรอสัญญาณก่อนการเข้าเทรดนั้นอาจเป็นสิ่งที่เทรดเดอร์หลายๆคนมองข้ามไป แต่ถ้าลองมองดูดีๆแล้วเพียงแค่มีการรอให้ครบเงื่อนไขก่อนการเข้าเทรดในแต่ละครั้ง เพียงเท่านี้ก็สามารถทำให้พอร์ตนั้นมีความมั่นคงมากกว่าเทรดเดอร์ที่มีความใจร้อนและไม่รอเงื่อนไขให้ครบถ้วนเสียก่อน ยกตัวอย่างการรอที่ดีคือ เทรดโดยใช้ Fractal เป็นหลักใช้เป็นตัวสังเกตเมื่อมีสัญลักษณ์ปรากฏขึ้นถึงจะเริ่มทำการเข้าเทรดได้
ข้อควรระวัง
- ความผันผวนของ Indicator ที่เทรดเดอร์ทุกคนต้องเจอ : แน่นอนว่าทุก Indicator มีความผันผวน เป็นหน้าที่ของเทรดเดอร์ที่จะต้องทำการวิเคราะห์กราฟจุดเข้าเทรดที่แม่นยำมากขึ้นการพึ่งพาเพียงแค่ Indicator อาจทำให้ไม่สามารถทำกำไรได้ในระยะยาวควรใช้เพื่อประกอบการวิเคราะห์เท่านั้น
เหมาะกับใคร?
- เหมาะสำหรับเทรดเดอร์ทั่วไป เพราะแผนการเทรดนั้นไม่ได้ยากมากและสามารถใช้ประยุกต์ได้หลากหลายสภาวะของราคา
Indicator ที่ใช้
ชื่อ Indicator |
จุดเด่น |
Stochastic (14-3-3) |
บอก Overbought (ภาวะเมื่อมีการซื้อมากเกินไป) และ Oversold (ภาวะเมื่อมีการขายมากเกินไป) |
Fractal |
ช่วยระบุการกลับตัวของกราฟ |
Keltner Channel |
ช่วยในการระบุแนวโน้มของตลาดได้ดี |
Keltner Channel ทำงานอย่างไร?
Keltner Channel ประกอบไปด้วยสามเส้นหลัก คือ เส้นกลาง เส้นบน และเส้นล่าง
- เส้นบน (Upper Line) : คำนวณโดยการเพิ่มค่าเฉลี่ยช่วงความผันผวน ATR (Average True Range) ไปยังเส้นกลาง โดยปกติจะใช้ค่า 2 เท่าของ ATR
- เส้นกลาง (Middle Line) : เป็นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ (Moving Average) ของราคาโดยปกติจะใช้ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่แบบธรรมดา (Simple Moving Average หรือ SMA) ของช่วงเวลา 20 วัน แต่สามารถปรับเปลี่ยนได้ตามความต้องการ
- เส้นล่าง (Lower Line) : คำนวณโดยการลบค่าเฉลี่ยช่วงความผันผวน ATR (Average True Range) ออกจากเส้นกลาง โดยปกติจะใช้ค่า 2 เท่าของ ATR เช่นเดียวกับเส้นบน
ตัวอย่างเงื่อนไขการเข้าเทรด
เงื่อนไขการเข้าเทรด (Call)
- จะเห็นได้ว่ากราฟกำลังเป็น Sideway สามารถดูได้จาก Indicator Keltner Channel ที่เป็นกรอบอย่างชัดเจน และสามารถสังเกตได้อีกจุดนั่นก็คือ Stochastic (14-3-3) ตรงตำแหน่งของ Overbought และ Oversold ที่ไม่ค่อยมีความผันผวนมาก
- อีกจุดที่เป็นการยืนยันการเข้าเทรดคือ Fractal ที่เป็นอีกหนึ่งจุดการยืนยันการเข้าเทรดร่วมกับการตัดกันของ Stochastic (14-3-3) ที่เส้น Oversold และมีแนวโน้มที่กราฟจะกลับตัวขึ้นมาก
- Oversold ก่อนหน้าก็สามารถเป็นตัวยืนยันได้อีกจุดว่ากราฟนั้นมีแนวโน้มจะกลับตัวขึ้นไปที่จุดนี้
เงื่อนไขการเข้าเทรด (put)
- จะเห็นได้ว่ากราฟกำลังเป็น Sideway สามารถดูได้จาก Indicator Keltner Channel ที่เป็นกรอบอย่างชัดเจน และสามารถสังเกตได้อีกจุดนั่นก็คือ Stochastic (14-3-3) ตรงตำแหน่งของ Overbought และ Oversold ที่ไม่ค่อยมีความผันผวนมาก
- อีกจุดที่เป็นสัญญาณที่ดีคือแนวต้านที่กราฟมากลับตัวที่จุดนั้นอย่างเห็นได้ชัด
- จากกราฟเห็นได้ว่าเหตุผลของการเข้าเทรดในไม้นั้นก็คือมีการตัดกันของเส้น Overbought อย่างชัดเจนและที่ยืนยันเข้าไปอีกจุดคือมีสัญญาณ Fractal ตรงจุดที่เป็นแนวต้านสำคัญ
Technical Gautam
องค์ประกอบของ Bollinger Bands
Bollinger Bands เป็นเครื่องมือที่วิเคราะห์แนวโน้มของกราฟ สามารถแบ่งได้เป็น 3 ส่วนคร่าวๆดังนี้
- เส้น Upper Band : เส้นที่เกิดขึ้นจากการบวกค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ (Simple Moving Average, SMA) กับค่า Standard Deviation (SD) ซึ่งช่วยแสดงบริเวณที่คาดว่าราคาจะมีความน่าจะเป็นที่จะสูงขึ้น
- เส้นเฉลี่ยเคลื่อนที่ (Simple Moving Average, SMA) : เป็นเส้นที่แสดงค่าเฉลี่ยของราคาปิดของราคาในช่วงเวลาที่กำหนด
- เส้น Lower Band : เส้นที่เกิดขึ้นจากการลบค่า Standard Deviation (SD) จากเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ (Simple Moving Average, SMA) ซึ่งช่วยแสดงบริเวณที่คาดว่าราคาจะมีความน่าจะเป็นที่จะลดลงมา
Standard Deviation หรือ ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐานถ้าจะสรุปให้ง่ายที่สุด ก็คือการหาค่า ± ของค่าเฉลี่ยกลางของข้อมูล
เทคนิคการใช้ Bollinger Bands ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
- Bollinger Bands ดูยังไง? : Bollinger Bands มักถูกใช้ในการวิเคราะห์ความผันผวนของราคา โดยเมื่อเส้น Bollinger Bands ขยายตัวออกไป แสดงว่าความผันผวนของราคากำลังเพิ่มขึ้น และเมื่อหดตัวแสดงถึงความเสถียรของกราฟ สรุปง่ายๆนั่นก็คือ เมื่อ Bollinger Bands ขยายตัวแสดงว่ากราฟนั้นกำลังผันผวน ราคาขยับแรงมาก กลับกันเมื่อกราฟมีการหดตัวลงแสดงว่ากราฟมีความเสถียร กราฟไม่ค่อยวิ่งแรงเท่าตอนที่มีความผันผวน
- การหาจุดเข้าเทรดโดยใช้ Bollinger Bands
- การทะลุ (Breakout): เมื่อราคาทะลุขึ้นไปเหนือเส้นกลางของ Bollinger Bands สามารถมีแนวโน้มที่กราฟจะขยับไปถึงเส้นบน นี่เป็นจุดที่เทรดเดอร์สามารถ Call ในจุดนี้เพื่อทำกำไรได้
- การกลับตัว (Pullback): เมื่อราคาทะลุลงไปถึงเส้นกรอบนอก Bollinger Bands
- การใช้ Bollinger Bands กับ Indicator อื่นๆ : การหาจุดเข้าเทรดในแต่ละครั้ง เพื่อเพิ่มความแม่นยำในการเข้าเทรดควรจะใช้ Indicator อื่นๆเข้ามามีส่วนร่วมในการวิเคราะห์ด้วย ยกตัวอย่างเช่นการใช้ Stochastic เพื่อหา Overbought (สภาวะเมื่อมีแรงซื้อมากเกินไป) หรือ Oversold (สภาวะเมื่อมีแรงขายมากเกินไป) แน่นอนว่าการที่จะใช้ Indicator เพียงตัวเดียวก็สามารถวิเคราะห์ได้แล้ว แต่ถ้าอยากให้การเข้าเทรดแต่ละครั้งมีความแม่นยำมากขึ้นก็ควรใช้ Indicator อื่นๆเข้ามาประกอบด้วย
ข้อควรระวัง
- อาศัยความเข้าใจกราฟ : การเลือกใช้ Indicator เพียงตัวเดียวนั้นต้องอาศัยความรู้และความเข้าใจในตัวของกราฟก่อนการเข้าเทรด เพื่อที่ทำให้ความเสี่ยงที่จะขาดทุนนั้นน้อยลง
- ต้องมีการบริหารเงินที่ดี (Money Management) : แน่นอนว่าเทรดเดอร์ทุกๆคนควรที่จะมีการบริหารการเงิน (Money Management) เพื่อที่จะสามารถทำให้พอร์ตเป็นระบบมากยิ่งขึ้น เพราะว่ายิ่งมีการจัดการเงินที่ดีเท่าไหร่ยิ่งทำให้เป็นประโยชน์ต่อพอร์ตของตัวเทรดเดอร์เอง
เหมาะกับใคร?
- เหมาะกับเทรดเดอร์ที่ค่อนข้างมีความใจเย็นและมีพื้นฐานในการอ่านกราฟ เทคนิคนี้สามารถเทรดได้หลากหลายรูปแบบเช่นการเทรดตามเทรนด์หรือการเทรดที่จุดกลับตัวก็สามารถทำได้เช่นกัน
Indicator ที่ใช้
ชื่อ Indicator |
จุดเด่น |
Bollinger Bands |
ใช้ในการวัดความผันผวนของตลาด |
ตัวอย่างเงื่อนไขการเข้าเทรด
เงื่อนไขการเข้าเทรด (Call)
- เทรดเดอร์จะสามารถสังเกตลักษณะของกราฟก่อนหน้าได้ว่าตัวของแท่งเทียนนั้นมีการชนเส้น Bollinger Bands แล้วกลับตัวในทันที ซึ่งเป็นสัญญาณที่ดีมากในการหาจังหวะในการเข้าเทรด
- เมื่อแท่งเทียนชนเส้น Lower Band รอดูลักษณะของแท่งเทียนว่าจะเป็นเช่นไรต่อไป
- เมื่อแท่งเทียนมีแท่งใหม่มีการเปิดตัวในจุดที่สูงขึ้นทำให้มีแนวโน้มอย่างมากที่กราฟจะเกิดการกลับตัว
เงื่อนไขการเข้าเทรด (put)
- สามารถสังเกตลักษณะของกราฟก่อนหน้าได้ว่าตัวของแท่งเทียนนั้นมีการชนเส้น Bollinger Bands แล้วกลับตัวในทันที
- เมื่อแท่งเทียนชนเส้น Upper Band รอดูลักษณะของแท่งเทียนว่าจะเป็นเช่นไรต่อไป เพื่อหาจังหวะในการเข้าเทรด
- เมื่อแท่งเทียนมีแท่งใหม่มีการเปิดตัวในจุดที่ต่ำกว่าแท่งเทียนเดิมทำให้มีแนวโน้มอย่างมากที่กราฟจะเกิดการกลับตัว
สรุปใจความสำคัญ
ในการเทรด Binary Option มีเทคนิคมากมายแตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับเทรดเดอร์ว่าต้องการที่จะเทรดในรูปแบบไหน แต่ละแบบก็จะมีข้อดีข้อเสียแตกต่างกันออกไป อยู่ที่ความชอบส่วนบุคคล ยกตัวอย่างบางคนอาจชอบเทรดเป็นเวลานานๆ เป็นสายวิเคราะห์กราฟ บางคนอาจต้องการแค่เทรดวันละไม่กี่ไม้เน้นเล่นสั้นๆ แต่ละเทคนิคก็มีข้อดีข้อเสียต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับความชอบของแต่ละคน แต่สิ่งที่เทรดเดอร์ทุกๆคนต้องทำเหมือนๆกันนั่นก็คือการที่ไม่หยุดหาความรู้ใหม่ๆเพื่อนำมาพัฒนาตนเอง ยังมีเทคนิคมากมายที่รอให้เทรดเดอร์ได้เรียนรู้