หลักการในการวิเคราะห์กราฟไบนารี่ออฟชั่นที่ทั่วโลกใช้กัน

เบื้องต้นหลักการในการวิเคราะห์กราฟไบนารี่ออฟชั่นสามารถแบ่งได้เป็น 2 หัวข้อใหญ่ๆเพื่อที่จะทำกำไรในตลาด Binary Option นั่นก็คือการเลือกสินทรัพย์ที่ต้องการจะลงทุน และ การวิเคราะห์กราฟ

การวิเคราะห์เลือกสินทรัพย์ที่ต้องการจะลงทุน

การเลือกสินทรัพย์ที่จะเข้าไปลงทุนนั้นถือว่าเป็นปัจจัยสำคัญอีกอย่างที่ไม่แพ้กับการวิเคราะห์กราฟเลยเป็นเพราะว่าหากผู้ลงทุนเริ่มจากการวิเคราะห์สินทรัพย์ที่ต้องการจะลงทุนก่อนแล้วทำการคัดแยกสินทรัพย์ที่น่าสนใจหรือน่าลงทุนในช่วงวลานั้นๆก็จะสามารถช่วยให้การเข้าเทรดมีอัตราทำกำไรได้มากกว่าการเข้าไปลงทุนโดยไม่ได้ทำการวิเคราะห์สินทรำย์เลยเปฌนเพราะว่าหากทำการวิเคราะห์จะเหมือนเป็นตัวคัดกรองแผนของผู้ลงทุนว่าสินทรัพย์ตัวไหนที่น่าสนใจและน่าลงทุน

การวิเคราะห์และเลือกสินทรัพย์ที่ต้องการลงทุนใน Binary Options มีลักษณะที่แตกต่างจากการลงทุนในสินทรัพย์อื่นๆ เนื่องจาก Binary Options เป็นวิธีการลงทุนที่มีความเสี่ยงสูงและมีลักษณะการทำกำไรแบบเมื่อถึงเวลาที่กำหนดแล้วและราคาอยู่ต่ำกว่าที่คาดการณ์ก็จะขาดทุนในทันที ดังนั้นการวิเคราะห์และเลือกสินทรัพย์ที่เหมาะสมจะต้องใช้กลยุทธ์และเครื่องมือที่แตกต่างจากการลงทุนในสินทรัพย์อื่นๆเพราะว่าการลงทุนในตลาดนี้ต้องอาศัยความแม่นยำค่อนข้างสูงและอาศัยประสบการณ์เป็นอย่างมาก เพราะหากเข้าเทรดได้ไม่แม่นยำพอ อาจทำให้เกิดการขาดทุนได้ การที่จะเข้าทำกำไรในตลาด Binary Option นี้จึงมีความท้าทายเป็นอย่างมาก ต่อไปนี้คือขั้นตอนและปัจจัยที่สำคัญในการวิเคราะห์และเลือก Binary

วิเคราะห์ตลาด

การวิเคราะห์สภาพตลาดเป็นสิ่งสำคัญในการทำกำไรจาก Binary Options เพราะผู้ลงทุนควรตระหนักถึงปัจจัยที่ส่งผลต่อราคาของสินทรัพย์ เช่น แรงขับเคลื่อนตลาด, ข่าวสารทางเศรษฐกิจ

เลือกสินทรัพย์ที่เหมาะสม

การเลือกสินทรัพย์ที่มีความเข้าใจและมีข้อมูลที่เพียงพอเป็นสิ่งสำคัญ ผู้ลงทุนควรศึกษาและวิเคราะห์สินทรัพย์ที่ต้องการลงทุนให้ดีก่อนที่จะทำการเทรดเช่น ทิศทางราคาและ ข่าวสารภาพรวม

เลือกเวลา

การเลือกเวลาการในการเทรด Binary Options มีผลต่อความสำเร็จในการลงทุน ควรพิจารณาเวลาการหมุนที่เหมาะสมกับกลยุทธ์และการวิเคราะห์ของคุณเพราะว่า หากเลือกเวลาที่กราฟมี volume ที่เยอะแล้วก็จะสามารถเป็นส่วนช่วยในการทำกำไร ยกตัวอย่างเช่น การเข้าเทรดในคู่เงิน ในช่วงเวลาที่ตลาด ประเทศสหรัฐอเมริกา เปิด ก็จะมี Volume ที่เยอะ และสามารถจำแนก Trend ของกราฟได้ง่ายมากขึ้นเห็นภาพมากขึ้น

การวิเคราะห์เทคนิค

การใช้เครื่องมือและเทคนิคในการวิเคราะห์กราฟราคา เช่น การวิเคราะห์ Price Action
การใช้เทคนิค SMC (Smart Money Concept), การหา Supply Demand หรือใช้ Indicator ต่างๆ เพื่อเข้ามามีส่วนช่วยยในการคัดแยกกราฟที่น่าเข้าไปลงทุนและการวิเคราะห์กราฟนั้นจะสามารถบ่งบอกทิศทางของกราฟได้

 

การศึกษาและการฝึกซ้อม

การศึกษาและการฝึกซ้อมเป็นสิ่งสำคัญเมื่อเริ่มต้นลงทุนใน Binary Options คุณควรศึกษาและฝึกซ้อมเป็นอย่างมากเพื่อที่จะหา กลยุทธ์เป็นของตัวเอง และหาเงื่อนไขการเข้าเทรดของตัวเองควรซ้อมให้มีประสบการณ์ให้มากๆเพราะการเทรดในตลาด Binary Option ต้องเน้นการเข้าเทรดที่แม่นยำ ดังนั้นจึงต้องหมั่นฝึกฝนโดยอาจเริ่มจากเทรดโดยที่ใช้บัญชี Demo เพื่อหาเงื่อนไขการเข้าเทรดของตนเอง เพราะหากขาดการฝึกฝน และขาดประสบการณ์ที่มากพอ จะทำให้เกิดการขาดทุน เพราะในการที่จะสามารถเข้ามาทำกำไรในทุกๆตลาดต้องอาศัยความเข้าใจในกลไกและหลักการและที่สำคัญกว่านั้นคือ การทำอย่างสม่ำเสมอ และ พัฒนาตนเอง

การวิเคราะห์กราฟ

เมื่อพูดถึงการเลือกสินทรัพย์ที่ต้องการจะลงทุนแล้ว หลังจากที่สามารถเลือกสินทรัพย์ที่น่าสนใจได้แล้วหลังจากนั้นผู้ลงทุนก็ควรที่จะวิเคราะห์กราฟในเบื้องลึกของกราฟเมื่อเช็คสภาพกลไกราคาของสินทรัพย์แล้วก็ควรทำการบ้านหาแผนการเทรดในช่วงเวลานั้นโดยสามารถใช้เทคนิดต่างๆหรือ Indicator ต่างๆ เพื่อเข้ามาให้มีส่วนช่วยให้การวิเคราะห์กราฟมีความง่ายมากขึ้นและส่งเสริมการเทรดของผู้ลงทุนให้มีความแม่นยำและกำหนดขอบเขตการเทรดของผู้ลงทุนให้มีเสถียรภาพมากขึ้น 

การวิเคราะห์กราฟมีหลายปัจจัยที่สามาถนำมาปรับใช้ได้และมีหลากหลายเทคนิคที่สามารถนำมาอ้างอิงให้การเทรดมีความแม่นยำมากขึ้นยกตัวอย่างเช่น การศึกษา Price Action การหา Demand Supply zone การจำแนก Trend , Dow Theory หรือการหา Liquidity Pool หรือจะเป็นการนำ Indicator มามีส่วนร่วมในการเข้าเทรดเพื่อทำกำไร เช่น Stochastic , RSI (Relative Strength Index) , MACD (Moving Average Convergence Divergence) โดยเทคนิคเบื้องต้นที่ผู้ลงทุนจำเป็นต้องรู้เพื่อนำมาทำการวิเคราะห์กราฟมีดังนั้

การหา Demand Supply Zone

การหา Demand Supply zone เป็นกระบวนการที่สำคัญในการวิเคราะห์และเข้าใจแนวโน้มของตลาด เมื่อมีจุดที่มีการซื้อขายเยอะก็จะม่าวนทำให้เกิดการขยับตัวของราคาที่มีมากขึ้นอย่างเห็ฯได้ชัดซึ่งมีหลายเทคนิคที่สามารถใช้ในการหา Demand Supply zone ได้ ดังนี้

การวาดเส้นแนวรับแนวต้าน

การใช้เครื่องมือการวาดเส้นแนวรับแนวต้านบนกราฟราคาเพื่อระบุพื้นที่ที่ราคามักจะมีการตกและขึ้น แนวรับ (Support) เป็น Demand zone ในขณะที่แนวต้าน (Resistance) เป็น Supply zone

การตี Fibonacci

การใช้เครื่องมือ Fibonacci Retracement เพื่อระบุพื้นที่ที่ราคามีการกลับตัวและเริ่มเคลื่อนที่ในทิศทางตรงกันข้าม ระดับ Fibonacci อาจเป็นตัวชี้วัดที่ช่วยในการระบุ Demand Supply zone

การใช้ Price Action

การวิเคราะห์การเคลื่อนไหวของราคาโดยตรงบนกราฟราคา เช่น การสังเกตเทคนิค Price Action เช่น Pin Bar, Inside Bar เป็นต้น ซึ่งสามารถช่วยในการระบุ Demand Supply zone

การใช้รูปแบบและรูปลักษณ์ของกราฟราคา

การสังเกตรูปแบบของกราฟราคา เช่น Double Tops, Double Bottoms, Head and Shoulders เป็นต้น ซึ่งอาจช่วยในการระบุ Demand Supply zone

การหา Demand Supply zone คือกระบวนการที่ต้องใช้ความรอบคอบและการวิเคราะห์อย่างถ่องแท้ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่แม่นยำและมีประสิทธิภาพในการเทรดในตลาดการเงิน การใช้เทคนิคที่เหมาะสมและการระบุ Demand Supply zone อย่างถูกต้องจะช่วยให้คุณตัดสินใจการเทรดอย่างมั่นคงและประสิทธิภาพ

Liquidity Pool

ในตลาดการเงิน liquidity pool หมายถึงกลุ่มของเงินที่ถูกลงทุนไว้ในตลาดและสามารถใช้ในการทำธุรกรรมได้ ซึ่งมีความสำคัญอย่างมากในการเทรด เนื่องจากมีความสำคัญในการปรับปรุงความเสถียรของตลาดและให้ความมั่นใจในความสามารถในการซื้อขายที่สมบูรณ์และรวดเร็ว Liquidity pool มาจากการรวมกลุ่มของธนาคารที่มีปริมาณการซื้อขายสูง รวมถึงสำนักงานการเงินใหญ่ ๆ , ผู้ลงทุนใหญ่, ส่วนของบริษัทตัวแทนการเป็นตลาด (market makers) , และผู้เทรดทั่วไป ซึ่งทำให้มีปริมาณการซื้อขายที่มากมายและความเปลี่ยนแปลงของราคามีความเสถียรมากขึ้น

Break Out

เหตุการณ์ที่ราคาของหลักทรัพย์หรือสินทรัพย์ทางการเงินพัฒนาการและพุ่งขึ้นหรือลงไปอย่างรวดเร็ว ซึ่งผลิตให้เกิดการขายหรือการซื้ออย่างมากขึ้น และมักเกิดขึ้นเมื่อราคาพังเกินระดับราคาสูงสุดหรือต่ำสุดที่เคยปรากฏมาก่อนนั้น การ Breakout ส่วนใหญ่มักเกิดขึ้นในตลาดที่มีความแปรปรวนสูงหรือแนวโน้มราคาที่เปลี่ยนแปลงได้อย่างรวดเร็ว เหตุการณ์ Breakout สามารถเป็นตัวบ่งชี้ว่ามีการเปลี่ยนแปลงของทิศทางราคาและเปิดโอกาสให้กับผู้ลงทุนในการทำกำไรหรือการป้องกันความเสี่ยง นอกจากนี้ การ Breakout ยังเป็นเหตุผลที่น่าสนใจสำหรับผู้ลงทุนที่ใช้กลยุทธ์การซื้อหรือขายที่สอดคล้องกับแนวโน้มที่เกิดขึ้น อย่างเช่น การซื้อหลังจาก Breakout ที่มีแนวโน้มขึ้น หรือการขายหลังจาก Breakout ที่มีแนวโน้มลงการ Breakout สามารถเป็นไปได้ในทิศทางที่แตกต่างกันได้ ซึ่งสามารถแยกออกเป็น

Bullish Breakout : เป็นการพุ่งขึ้นของราคาหลังจากที่ราคาพักที่ระดับต่ำของตลาดเก่าเป็นสัญญาณของการซื้อที่เพิ่มขึ้น

Bearish Breakout : เป็นการลงของราคาหลังจากที่ราคาพักที่ระดับสูงของตลาดเก่าสัญญาณของการขายที่เพิ่มขึ้น

การนำ Indicators มาปรับใช้

นอกจากแผนการเทรดที่สามารถนำมาปรับใช้ได้แล้วผู้ลงทุนควรศึกษาการใช้เครื่องมือหรือ Indicators

เพื่อที่จะสามารถวิเคราะห์ภาพรวมของกราฟขณะนั้นได้และสามารเข้าทำการเทรดได้นั่นเองโดยมีเครื่องมือหลากหลายชนิดที่ผู้ลงทุนสามารถเลือกใช้ได้เพื่อนำมาปรับเข้ากับแผนการเทรดของผู้ลงทุนเองควรทดลองใช้หลากหลายรูปแบบเพื่อทื่จะมีประสบการณ์การใช้งานจริงและสามารถแยกแยะเครื่องมือที่ผู้ลงทุนมีความถนัดโดยแต่ละเครื่องมือมีเอกลักษณ์ที่แตกต่างกันและความสามารถก็แตกต่างกันไปอีกด้วย สามารถยกตัวอย่างได้ดังนี้

Stochastic Oscillator

Indicator Stochastic หรือ Stochastic Oscillator เป็นหนึ่งในตัวชี้วัดทางเทคนิคที่ใช้ในการวิเคราะห์กราฟราคาของหลักทรัพย์หรือสินทรัพย์ทางการเงิน เป็นเครื่องมือที่มีประโยชน์ในการช่วยในการระบุความเสี่ยงและการกำหนดเวลาในการซื้อหรือขาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการตลาดที่มีแนวโน้มขึ้นหรือลง

%K: ส่วนที่แสดงค่าเปรียบเทียบราคาปิดปัจจุบันกับช่วงราคาสูงสุดและต่ำสุดในระยะเวลาที่กำหนด

%D: ส่วนที่แสดงค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ของ %K ในระยะเวลาที่กำหนด

เมื่อ %K ขึ้นไปสู่ช่วงสูงขึ้น และ/หรือ %D ขึ้นไปสู่ช่วงสูงขึ้น แสดงถึงการแข็งแกร่งของตลาด และสามารถถือว่าเป็นสัญญาณซื้อ

เมื่อ %K ลงลงมาสู่ช่วงต่ำลง และ/หรือ %D ลงลงมาสู่ช่วงต่ำลง แสดงถึงการอ่อนแอของตลาด และสามารถถือว่าเป็นสัญญาณขาย

RSI (Relative Strength Index)

RSI มักถูกนำมาใช้ในการแสดงสถานะการซื้อขายของตลาด โดยทั่วไปมักจะมีการกำหนดช่วงค่าต่ำ (oversold) และช่วงค่าสูง (overbought) ที่ใช้เป็นสัญญาณในการระบุสถานะของตลาด 

ค่า RSI ที่มากกว่า 70 : สัญญาณขาย หมายถึงตลาดมีแนวโน้มที่อยู่ในสถานะ overbought ซึ่งอาจเป็นสัญญาณขาย

ค่า RSI ที่น้อยกว่า 30: สัญญาณซื้อ หมายถึงตลาดมีแนวโน้มที่อยู่ในสถานะ oversold ซึ่งอาจเป็นสัญญาณซื้อ

MACD (Moving Average Convergence Divergence)

MACD Line: เป็นค่าผลต่างระหว่างเฉลี่ยเคลื่อนที่ระยะสั้นและเฉลี่ยเคลื่อนที่ระยะยาว ซึ่งคำนวณจากการลบเฉลี่ยเคลื่อนที่ระยะยาวจากราคาเฉลี่ยเคลื่อนที่ระยะสั้น

Signal Line: เป็นเส้นเฉลี่ยเคลื่อนที่ของ MACD Line ในระยะเวลาที่กำหนด

ค่า MACD Line ขึ้นขึ้น: สัญญาณซื้อ หมายถึงการเพิ่มพลังขึ้นของตลาด

ค่า MACD Line ลงลง: สัญญาณขาย หมายถึงการอ่อนแอของตลาด

สรุปใจความสำคัญ

ใจความสำคัญคือการเริ่มจากการเลือกสินทรัพย์ที่น่าสนใจโดยการหา Demand Supply Zone ที่น่าสนใจจากนั้นทำการหาแนวรับแนวต้านทำการหาสามารถนำเครื่องมือ Indicators ต่างๆมาปรับใช้เพื่อเพิ่มความแม่นยำมากยิ่งขึ้นแล้วหลังจากนั้นทำตามแผนการเทรดที่ผู้ลงทุนต้องการโดยสามารถทำได้หลายหลายแนวตาม Trend จังหวะของกราฟๆนั้นยกตัวอย่างเช่น กำลังเป็น Sideway down ทำการหา Liquidity Pool และทำการรอจังหวะ Breakout โดยอิงจาก Demand Supply Zone แล้วรอจังหวะทำการเข้าเทรดโดยข้อควรระวังคือระวังการ False Breakout หรือทำการเข้าเทรดตามแนวรับแนวต้านถ้ากราฟเป็น Sideway โดยการเลทอกใช้กลยุทธ์นั้นแล้วแต่ตามการวิเคราะห์ของผู้ลงทุนโดยทำการ Money Management เสมอเพื่อสามารถเห็นภาพรวมของพอร์ตได้อย่างสม่ำเสมอและควรจดบันทึก เพื่อเก็บข้อผิดพลาดมาปรับใช้ให้แผนการเทรดดีมากยิ่งขึ้น