Fundamental analysis (การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน) คือการวิเคราะห์สิ่งอันเป็นพื้นฐานใดๆที่มีผลต่อราคาสินทรัพย์ อาทิเช่น ภาวะทางเศรษฐกิจ สังคม การเมืองและอุตสาหกรรม ซึ่งจะส่งผลต่อ สินทรัพย์ Demand & Supply นอกจากนี้ยังศึกษาผลประกอบการ เช่น อัตราการเติบโตในอดีตเพื่อคาดคะเนแนวโน้มของราคาสินทรัพย์ในอนาคต แล้วนำมาใช้ในการวิเคราะห์ประเมินราคากับหลักทรัพย์นั้นๆ ว่าควรจะมีราคาเท่าไหร่ การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานนี้มีรากฐานมากจากแนวความคิดที่ว่า “มูลค่าที่แท้จริง(intrinsic value)” ของสินค้ามันเอง ของดีก็ต้องราคาดีจริงอย่างเหมาะสมโดยไม่ต้องอาศัยแรงผลักดันมากนัก
ในทางตลาด Binary option เช่น ถ้าคุณเทรดคู่ค่าเงิน ปัจจัยเหล่านี้แหละครับที่มันจะมีผลกระทบกับอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราครับ เช่น เมื่อมีการประกาศตัวเลขเศรษฐกิจต่างๆหากเศรษฐกิจของประเทศนั้นดีขึ้น การประกาศตัวเลขที่ดีกว่าแต่ก่อนจะส่งผลให้ค่าเงินของประเทศนั้นมีค่ามากขึ้นแข็งขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับค่าเงินสกุลอื่นๆ ในทางกลับกันถ้าค่าเศรษฐกิจแย่ลงค่าเงินก็จะลดลงเมื่อเทียบกับค่าเงินของประเทศอื่นๆเช่นกัน เพราะฉะนั้นถ้ามีการประกาศของ Fed ค่า unemployment หรือค่าต่างๆนั่นแหละครับตัวเลขเหล่านั้นก็จะขับเคลื่อนให้ค่าเงินมีการเปลี่ยนแปลงครับ ซึ่งก็จะมีแนวโน้มเป็นเทรนแบบยาวๆ หรือขึ้นลงสูงๆ
ประเด็นในการวิเคราะห์ผลกระทบทางด้านปัจจัยพื้นฐาน
1.วิเคราะห์เศรษฐกิจ (Economic Analysis) โดยเป็นการวิเคราะห์แนวโน้มเศรษฐกิจในอนาคต ทั้งเศรษฐกิจของประเทศและเศรษฐกิจโลก
2.วิเคราะห์อุตสาหกรรม (Industry Analysis) เป็นการวิเคราะห์วงจรอุตสาหกรรม โดยวิเคราะห์จากสภาพการแข่งขันในอุตสาหกรรม ตลอดจนอนาคตของอุตสาหกรรมว่าจะมีการเติบโตอย่างไร
3.วิเคราะห์บริษัท (Company Analysis) วิเคราะห์บริษัทเป็นตัวสุดท้ายในการวิเคราะห์ โดยจะเน้นวิเคราะห์ประเภทของบริษัทและประเภทของหลักทรัพย์ โดยจะวิเคราะห์ในเชิงคุณภาพ(Qualitative Analysis)และเชิงปริมาณ(Quantitative Analysis) ที่จะเปลี่ยนไปเมื่อปัจจัยพื้นฐานมีการเปลี่ยนแปลง
โดยสรุป การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน (Fundamental analysis) จะเหมาะกับการวิเคราะห์ระยะปานกลางหรือระยะยาว
จุดเด่นจุดด้อยของการวิเคราะห์ Fundamental analysis
- จุดเด่น : มีข้อมูลที่เกิดขึ้นจริงจำนวนมากที่เกิดขึ้นในอดีตมาทำการวิเคราะห์ จึงทำให้แนวโน้มมีความเป็นไปได้และน่าเชื่อถือ
- จุดด้อย : ต้องใช้ข้อมูลจำนวนค่อนข้างมากในการวิเคราะห์และถ้าเจอหุ้นที่ราคาต่ำกว่ามูลค่าที่แท้จริงก็ไม่สามารถใช้การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานหาจังหวะเข้าซื้อ-ขายได้
Fundamental Analysis ในทางปฏิบัติ ความยาก/ง่าย
ในการเทรดสินทรัพย์ประเภทค่าเงิน (ผมกล่าวเจาะประเด็นนี้เพราะมีการเทรดกันมากในวงการ binaryoption หรือแม้กระทั่ง Forex ) ซึ่งบางทีการเทรด แบบ Fundamental Analysis ก็จะเรียกกันว่า “เทรดสายข่าว” คือจะวิเคราะห์ถึงข่าวต่างๆเช่น การเมือง เศรษฐกิจ สงคราม ทุกๆข่าวที่เกิดขึ้น มีผลกระทบทั้งนั้น ไม่มากก็น้อย โดยสามารถจำแนกประเภทของข่าวเศรษฐกิจออกไปหลักๆ 3 ประเภท คือข่าวธรรมดา ข่าวระดับกลาง ข่าวสำคัญ ในเว็บแสดงข่าวจะแบ่งสีของข่าวออกชัดเจน คือ ข่าวสีแดงมีผลกระทบเยอะที่สุด ข่าวสีเหลืองมีผลนิดหน่อย อันนี้ยังไม่รวมถึงข่าวธุรกิจ และการเมืองต่างๆอีก
โดยในแต่ละวัน จะมีข่าวสารต่างๆมากมาย แม้กระทั้งใน terminal MT4 ก็จะมีข่าวสั้นเข้ามาเป็นระยะให้เราได้อ่านและติดตาม ปริมาณของข้อมูลที่เข้ามามากมายทำให้การวิเคราะห์ข่าวมีความลำบาก สำหรับนักเทรดมือใหม่ เพราะไม่สามารถที่จะแยกแยะได้ว่าอะไรสำคัญ อะไรไม่ค่อยสำคัญ ทันทีที่เกิดข่าวจึงเกิดคนสามประเภทคือ
- คนที่คิดว่าข่าวดีต่อราคา
- คนที่คิดว่าข่าวไม่ดีต่อราคา
- คนที่ไม่สนใจและไม่คิดว่ามันมีผลต่อราคา
ราคาจะขยับไปทางไหน มันก็แล้วแต่จำนวนของคนแต่ละประเภทแล้วละทีนี้ ฝั่งไหนมากกว่า ราคาก็จะขยับไปทางนั้น ขยับมากขยับน้อย อยู่ที่ความแตกต่างของคนทั้ง 3 ประเภท ซึ่งตรงจุดนี้เราสามารถใช้ทำกำไรอย่างรวดเร็วในระยะเวลาสั้นๆได้ทันที แต่การเดาทิศทางของอารมณ์คนส่วนใหญ่นี่แหละ ปัญหาล่ะครับ ดังนั้นคนที่เทรดสายเทคนิค (Technical analysis) จึงปฏิเสธการเทรดแบบสายข่าวเพราะมันใช้พลังงานเยอะมาก…
ทีมงาน: binaryoption.in.th